รายงาน Ericsson Mobility ฉบับล่าสุดเผยยอดบัญชีผู้ใช้ 5G ทั่วโลก จะพุ่งแตะ 6.3พันล้านราย ในปี 2030
- Happening Around
- 4 วันที่ผ่านมา
- ยาว 2 นาที
ภายในสิ้นปี 2030 เครือข่าย 5G จะครอบคลุมการใช้มือถือทั่วโลกถึง 80%
ในปี 2030 จำนวนบัญชีผู้ใช้ 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย จะพุ่งแตะ 630 ล้านราย คิดเป็น 49% ของผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมดในภูมิภาคนี้
อีริคสันจะสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างการเปลี่ยนแปลงสำคัญให้กับประเทศไทยโดยใช้ความเป็นผู้นำ 5G ระดับโลก

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) คาดสิ้นปี 2030 จำนวนบัญชีผู้ใช้บริการ 5G ทั่วโลก จะพุ่งแตะ 6.3 พันล้านราย ตามรายงาน Ericsson Mobility Report (ฉบับเดือนมิถุนายน 2025) และคาดว่าสิ้นปี 2025 บัญชีผู้ใช้ 5G ทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 2.9 พันล้านราย หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมด
ปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตบนเครือข่ายมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้น 19% จากไตรมาสแรกของปี 2024 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีนี้ ถึงแม้อัตราการเติบโตจะลดลง แต่ปริมาณการใช้ดาต้ายังเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในรายงาน Ericsson Mobility Report ยังคาดการณ์ว่ายอดการใช้ดาต้าเน็ตมือถือจะเพิ่มมากกว่าสองเท่าตลอดช่วงของการคาดการณ์จนถึงสิ้น
ปี 2030
เมื่อสิ้นปี 2024 เครือข่าย 5G รองรับการใช้ดาต้าเน็ตมือถือทั่วโลกถึง 35% โดยคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2030 ตัวเลขนี้จะขยับเพิ่มขึ้นเกินกว่า 80%

เครือข่าย 5G Mid-Band ครอบคลุมเกิน 50% ของจำนวนประชากรในทวีปยุโรป เมื่อสิ้นปี 2024 อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าความครอบคลุมของเครือข่าย 5G Mid-Band ในภูมิภาคนี้จะอยู่ในระนาบเดียวกับค่าเฉลี่ยของโลก แต่ยังตามหลังประเทศผู้นำต่างๆ อาทิ อเมริกาเหนือที่นำ 5G Mid-Band มาใช้งานครอบคลุมเกินกว่า 90% ของประชากร และอินเดียที่ใช้ 5G Mid-Band ครอบคลุมถึง 95% ของประชากร
ในปี 2030 คาดว่าจำนวนบัญชีผู้ใช้บริการ 5G ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย จะเพิ่มเป็น 630 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 49% ของจำนวนบัญชีผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมดในภูมิภาคนี้ ขณะที่ปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตต่อสมาร์ทโฟนคาดว่าจะเติบโตจาก 19 กิกะไบต์ต่อเดือน ในปี 2024 เพิ่มเป็น 38 กิกะไบต์ต่อเดือน ในปี 2030 สำหรับประเทศไทย เครือข่าย 5G เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการบริโภคข้อมูลและการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน (ARPU)

มร.แอนเดอร์ส เรียน ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “เราอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญที่เครือข่าย 5G และระบบนิเวศมีความพร้อมที่จะปลดปล่อย A Wave of Innovation หรือคลื่นแห่งนวัตกรรม ด้วยความก้าวหน้าของเครือข่าย 5G Standalone (SA) ประกอบกับพัฒนาการในอุปกรณ์ที่รองรับ 5G ได้นำไปสู่ระบบนิเวศที่พร้อมสำหรับการปลดล็อกโอกาสเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในการเชื่อมต่อไอเดียสร้างสรรค์ และเพื่อให้ 5G ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการคือการนำเครือข่าย 5G SA มาใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างฐานย่านความถี่ Mid-Band เพิ่มเติม”
อีริคสัน ประเทศไทย พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของประเทศไทย โดยอาศัยความเป็นผู้นำระดับโลกของเราในด้านเทคโนโลยี 5G ที่วันนี้เปิดให้บริการเครือข่าย 5G ไปแล้ว 187 เครือข่ายทั่วโลก “วิสัยทัศน์หลักของเรา คือการสร้างเครือข่ายการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อถือได้ และยั่งยืน เพื่อเร่งการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เราเชื่อว่าการร่วมมือที่เข้มแข็งในระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญช่วยปลดล็อกศักยภาพของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้เต็มที่ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตรในอุตสาหกรรม และชุมชนต่างๆ เราตั้งเป้าส่งเสริมนวัตกรรม สร้างความเท่าเทียม และการเติบโตระยะยาวให้กับประเทศไทย” มร.แอนเดอร์ส กล่าวเพิ่มเติม
มียูสเคสการใช้งาน 5G ปัจจุบันและในอนาคตมากมายที่อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในการเพิ่มประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต และมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ความเป็นไปได้ของ 5G ไม่เพียงช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของโลกยุคใหม่ได้อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยควบคู่ไปด้วยกัน
ความก้าวหน้าของเครือข่าย 5G Standalone (SA) ประกอบกับพัฒนาการในอุปกรณ์ที่รองรับ 5G นำไปสู่ระบบนิเวศที่พร้อมสำหรับปลดล็อกโอกาสเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เพื่อเชื่อมต่อไอเดียสร้างสรรค์ “เพื่อให้ 5G ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการคือการนำเครือข่าย 5G SA มาใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างฐานย่านความถี่ Mid-Band เพิ่มเติม” มร.แอนเดอร์ส กล่าว

การใช้ 5G SA ที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นจะเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นสำหรับการนำไปปรับใช้และขับเคลื่อนยูสเคสการใช้งานใหม่ๆ ให้กับทั้งองค์กรและผู้บริโภค เนื่องจากอุปกรณ์ generative AI (GenAI) เป็นที่แพร่หลายและแอปฯ AI มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันและผู้ให้บริการด้านการสื่อสารจึงต้องให้ความสำคัญกับความสามารถในการอัปลิงก์ (Uplink) และระยะเวลาแฝงในการรับ-ส่งข้อมูล (Latency) มากขึ้น ตามรายงาน Ericsson Mobility Report ระบุถึงอุปกรณ์ 5G ที่เป็นนวัตกรรมอื่นๆ นอกเหนือจาก GenAI ที่ฝังอยู่ในสมาร์ทโฟนรุ่นไฮเอนด์ อย่าง แว่นตาอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI และใช้ประสิทธิภาพจากการโต้ตอบด้วยเสียง รวมถึงการนำประสิทธิภาพการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน (Differentiated Connectivity) มาใช้มากขึ้นในแอปพลิเคชันใหม่ๆ สำหรับผู้บริโภคและสำหรับองค์กร
โดย Differentiated Connectivity จะเป็นกุญแจสำคัญมอบประสบการณ์คุณภาพสูงให้กับผู้ใช้ สำหรับ AI Agent ที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคลและแอปพลิเคชันการสนทนาอื่นๆ
“หัวใจหลักของการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายของเรา คือ ความตั้งใจแน่วแน่และมีจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ และโปร่งใส
เรามุ่งมั่นสร้างมาตรฐานความเป็นเลิศและสรรหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมอบให้กับอุตสาหกรรม เพื่อให้มั่นใจว่าบทบาทและการมีส่วนร่วมของเราสามารถสร้างผลกระทบและมีความรับผิดชอบไปพร้อมกัน ด้วยการผนึกกำลังร่วมกัน เรากำลังสร้างอนาคตที่เชื่อมต่อถึงกันให้กับประเทศไทยซึ่งมีทั้งความครอบคลุม ยืดหยุ่น และพร้อมเปิดรับทุกโอกาสในอนาคต” มร.แอนเดอร์ส กล่าวสรุป
อ่านรายงาน Ericsson Mobility ฉบับเต็ม มิถุนายน 2025 ได้ที่ลิงก์นี้
Comments